Garden n Farm

Story 1 นำไปจดอนุสิทธิบัตร
การทำเกษตรแบบดั้งเดิม ทำให้เกษตรกรต้องละทิ้งถิ่น เข้าหางานทำในเมือง เนื่องจาก ดินเสื่อมสภาพ ยาฆ่าแมลง แล้งน้ำ
การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี จากนาซ่า คือ การปลูกพืชไร้ดิน หรือ ผักไฮโดรโปนิคส์ เพื่อเป็นอาหารให้นักบินอวกาศ
มีการนำเทคโนโลยีนี้ มาต่อยอดในการปลูกผักสลัดมากมาย ทั้งระบบน้ำนิ่ง น้ำเวียนสูง และน้ำเวียนต่ำ ซึ่งแต่ละระบบก็จะเหมาสมกับพืชแต่ละชนิด
มะพร้าว ไม้ผลยืนต้น อายุนับร้อยปี สามารถนำทุกส่วนของมะพร้าวไปใช้ประโยชน์ได้
ไทย ส่งออก ผลมะพร้าวน้ำหอมไปยังประเทศจีนจำนวนมาก ทำให้ผลผลิตได้ราคา แต่การปลูกบนดิน หรือ แบบดั้งเดิมนั้น จำเป็นต้องซ่อมดิน เพราะ ดินเสื่อมสภาพ ขาดธาตุอาหาร และ ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยในราคาแพง เพราะปุ๋ยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หากนำมาผสมดิน จำเป็นต้องใช้เงินมหาศาล
โชคดี สำหรับสวนมะพร้าวที่มีน้ำ แต่สวนที่ขาดน้ำ ก็จะไม่ได้ผลผลิต
มะพร้าว จึงโตและได้ผลผลิตดีในจังหวัดราชบุรี เพราะ น้ำดี ดินดี แดดดี แต่สำหรับจังหวัดอื่นๆ ก็จะประสบปัญหา ไม่คุ้มทุน ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ จึงต้องมีการนำเข้ามะพร้าวจากอินโดนีเซีย และ ประเทศเพื่อนบ้านมาคั้นทำน้ำกระทิ 
มะพร้าวน้ำหอมที่ไทยส่งออก ทำให้อุปทานในประเทศลดลง ราคาตลาดสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
อ.สุ นักประดิษฐ์ จึงได้ออกแบบกระถางปลูก เพื่อตอบโจทย์เหล่านี้
1. ธาตุอาหารของน้ำปุ๋ยตรงกับมะพร้าว และ ไม่รั่วไหลลงดินด้านล่าง
2. ใช้น้ำน้อย ไม่ต้องรดน้ำ ไม่ต้องดูแล
3. รากเย็น ไม่ร้อนจนเกิน
4. ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง
5. ให้ผลผลิตไว
6. เคลื่อนย้ายได้
เจ้าของที่ดิน ที่ยังรกร้าง ไม่รู้จะนำที่ดินไปทำอะไร แนะนำให้"เช่า"ชุดปลูกไปลงในที่ ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร รีสอร์ท หรือ ปลูกเพื่อส่งออกผลผลิต
ขอให้โชคดีครับ

การทำฟาร์มและสวนแบบไม่กวนสิ่งแวดล้อม

Zero Waste ต้องมา ถ้าไม่ทัน ให้ทำ Minimum Waste แทน

เริ่มต้นจากการทำลายวัสดุ ของทิ้ง ของเสีย ในฟาร์มซึ่งจะเป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นถึงการจัดการฟาร์มว่าใส่ใจสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ถ้าเผากลางแจ้งแบบไม่มีวัสดุห่อหุ้ม จะทำให้เกิดควันมาก และ ขี้เถ้าลอย รบกวนข้างบ้านและชาวโลก  

เสนอแนะให้ประกอบเตาเติมอ็อกซิเจนแบบง่ายขึ้นใช้เองเพื่อทำลายวัสดุที่ไม่สามารถฝังกลบได้ เช่น หลอด ถุงก็อบแก็บ ป้ายฉลาก เศษพลาสติก กล่องโฟม เฟอร์นิเจอร์เก่า ซึ่งถ้าต้องการให้ไร้ควันและกลายเป็นคาร์บอน (ถ่าน) ให้อัพเกรดเป็นเตารักษ์โลกของชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว 

 

Visitors: 177,068