ถั่วยืนต้น ฟื้นฟูระบบนิเวศ

พืชกลุ่มที่เรียกว่า "ถั่ว" ไม่ได้มีแค่เพียงพืชล้มลุกที่เรารู้จักเท่านั้น แต่พืชในวงศ์ถั่ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fabaceae หรือ Leguminosae)นั้น ยังรวมพืชจำนวนมากที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้เลื้อยจำนวนมากด้วย
ไม้ยืนต้นตระกูลถั่วมีความสำคัญทางนิเวศวิทยาเป็นอย่างสูง เนื่องจากพืชกลุ่มนี้มีปมรากที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้พืชเหล่านี้เติบโตได้ดีกว่ากลุ่มอื่นในสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน ใบเล็กๆของพืชตระกูลถั่วจำนวนมากยังช่วยเรื่องการปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิสูงในเขตร้อนได้ดี ระบายความร้อนได้ดีกว่า และการที่เป็นไม้ยืนต้น มีระบบรากลึกยังช่วยดูดแร่ธาตุอาหารจากดินชั้นล่าง แปรเป็นปุ๋ยคืนกลับสู่หน้าดิน ผ่านการร่วงหล่นของใบและกิ่งก้าน สร้างความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
การปลูกไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในระบบเกษตร จึงเป็นหนึ่งในแนวทางของเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่จะช่วยฟื้นฟูดิน ค้ำจุนระบบเกษตร และสิ่งแวดล้อม แทนที่จะปลูกพืชระยะสั้นเชิงเดี่ยวในพื้นที่กว้างขวาง ซึ่งต้องใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ในปริมาณ จนกลายเป็นปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
พืชยืนต้นตระกูลถั่วบางชนิดที่เป็นพืชนำเข้า อาจต้องระมัดระวังการนำมาใช้ ซึ่งบางกรณีอาจเข้ามาแทนที่พืชพื้นเมืองได้ เช่น กรณีการปลูกระถินยักษ์ในบางพื้นที่ เป็นต้น
นิเวศเกษตรพาไปรู้จัก 30 ชนิดของพืชยืนต้นตระกูลถั่ว ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์พืชท้องถิ่นที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศเขตร้อน รวมทั้งประเทศไทย มีส่วนน้อยที่เป็นพืชนำเข้า เพื่อเรียนรู้และนำมาปรับใช้ สำหรับการฟื้นฟูดิน การให้ร่มเงา ประโยชน์จากเนื้อไม้ แหล่งอาหาร และสมุนไพร
+++++
Visitors: 173,883