‘เฮลท์แคร์’มาแรง Lifestyle Medicine – AI ดันไทยสู่ Medical & Wellness Hub

‘เฮลท์แคร์’มาแรง Lifestyle Medicine – AI ดันไทยสู่ Medical & Wellness Hub

‘เฮลท์แคร์’มาแรง Lifestyle Medicine – AI ดันไทยสู่ Medical & Wellness Hub

03 ม.ค. 2568 | 05:28 น.

ชี้เทรนด์สุขภาพปี 2568 ขับเคลื่อนด้วย “Lifestyle Medicine-AI” 2 คีย์เวิร์ดดันไทยสู่ Medical & Wellness Hub ในอนาคต หลังไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ เสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงถึง 80%

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ (Aged Society) ในปี 2567 ด้วยจำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงที่มีมากกว่า 13.44 ล้านคน จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด 65.96 ล้านคน หรือคิดเป็น 20.69% และคาดว่าจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) มีผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 30% ในปี พ.ศ.2576

กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้ายุทธศาสตร์ รับมือการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการรองรับทั้งด้านสาธารณูปโภค การดูแล การพักฟื้น รวมไปถึงการรักษา

‘เฮลท์แคร์’มาแรง Lifestyle Medicine – AI ดันไทยสู่ Medical & Wellness Hub

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขไทย คือจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิต เบาหวาน หลอดเลือดในสมอง มะเร็ง ฯลฯ ปัจจัยสำคัญมาจากอาหารการกินจำพวก หวาน มัน เค็ม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก และทำให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs มากกว่าการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดเชื้อเกินกว่าครึ่ง

2 คีย์เวิร์ดดันไทยสู่ Medical & Wellness Hub

ภาพที่ชัดเจนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลรวมถึงภาคีเครือข่ายต่างมุ่งหาทางออกของเรื่องนี้มานานหลายปี และปักธงให้ปี 2568 มุ่งหน้าไปที่การป้องกันโรค มากกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว เรื่องของ “เวชศาสตร์วิถีชีวิต” (Lifestyle Medicine) ที่แพร่หลายในทั่วโลกจึงเป็น “ทางรอด” หนึ่ง ที่ไม่ใช่แค่ “ทางเลือก” ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ รวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาปรับใช้ Lifestyle Medicine และ AI จึงเป็น 2 คีย์เวิร์ดที่จะช่วยลดการป่วยโรค NCDs และผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical & Wellness Hub ในอนาคต

ศ.วุฒิคุณ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ คณะกรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบแล้ว และอัตราการเจ็บป่วยก็เริ่มมีมากขึ้น แต่นับจากปี 2566 เป็นต้นมาหลังจากเกิดสถานการณ์ โควิด-19 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อน้อยลง เพราะคนหันมาใส่ใจดูแลตัวเอง ระวังตัว กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เว้นระยะห่าง หรือแม้กระทั่งใส่แมสเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ศ.วุฒิคุณ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ศ.วุฒิคุณ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์

สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนในปี 2567 ที่คาดการณ์ไว้ว่าไข้หวัดใหญ่จะระบาดอย่างรุนแรง สุดท้ายสถานการณ์กลับเบาบางกว่าที่คิด ถือว่าประเทศไทยจัดการเรื่องโรคระบาดได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs เช่น โรคความดัน เบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง รวมถึงมะเร็ง

Visitors: 178,956