ขออนุญาตโรงแรมกับเมืองพัทยา
ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากการประวิงเวลา
คำฟ้อง ความผิดฐาน เมืองพัทยาไม่ตรวจสอบเอกสารตามคำขออนุญาต อ.1 รวมทั้งข้อกฏหมายให้เสร็จสิ้นใน 45 วันตามคู่มือประชาชน แต่กลับมีคำสั่งให้ยื่นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากการขออนุญาตนี้ขัดข้อกฏหมาย การให้ยื่นรายงานจะทำให้เกิดความสียหายจากค่าออกแบบและจัดทำรายงานผลกระทบฯ การส่งคืนคำขอ ภายใน 45 วัน ก็จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายใดๆ
ช่วงที่ 2 หลังจากผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว กลับยังไม่ออกใบอนุญาต อ.1 ให้ ก็จะขาดค่าขาดโอกาสจากการขาย ค่าเช่า รวมทั้งค่าดูแลให้คงสภาพ เพิ่มเติมอีก รวม 34 เดือน (ตค 61 - มิย 64)
ช่วงที่ 3 ช่วงหลังจากการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว (มิย 64) ถึงปัจจุบัน
ความผิดเกิดจาก 1. เจ้าหน้าที่เมือง ไม่ทำการตรวจสอบข้อ กม ใน 45 วัน ตั้งแต่ ปี 61
2. ไม่ปฏิเสธคำขอ ใน 45 วัน จนเกิดความเสียหาย (1) ทั้งจำนวน , (2) และ (3) เสียหายบางส่วน
3. โจทก์ติดตามทวงถามมาตลอด แต่จำเลยบ่ายเบี่ยงเรื่อยมาโดยในภายหลังเมืองพัทยาให้เหตุว่า ต้องตรวจสอบข้อกฏหมายทั้งหมดอย่างละเอียดรอบคอบ แต่ในที่สุด แจ้งมาว่า "ขัด พรบ อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 17/1" ภายหลัง ฝ่าย กม เมืองพัทยา อ้างเพิ่มเติมว่า ผิด พรบ อาคารชุด มาตรา 10 ซึ่งหากขัดจริง ก็ควรส่งคืนคำขอแต่เนิ่นๆ จะได้เสียหายน้อย
หากขัด กม จะเกิดค่าเสียหายทั้ง 5 ข้อ
หากไม่ขัด กม ก็ยังมีความผิดฐานประวิงเวลาทำให้เกิดความล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น จะเสียหายข้อ (3) (4) และ (5) เท่านั้น
ข้อต่อสู้ของจำเลย
1. โจทก์ได้แต่งตั้ง บริษัท ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อนที่จะยื่นขออนุญาต (ก่อน ปี 2561)
2. มี กม ที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ จึงต้องตรวจสอบ ข้อกฏหมายด้วยความละเอียด รอบคอบ
ข้อเท็จจริง--- หลังยื่นขออนุญาต 8/8/61 เมืองมีคำสั่ง ให้นำส่ง รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
----- ถ้าเมื่อปี 61 นายกเมือง โดยฝ่ายควบคุมอาคาร แผนกขออนุญาตก่อสร้างยื่นเรื่องให้ฝ่ายกฏหมายเมืองตรวจสอบก่อนว่า ผิด พรบ อาคารชุด หรือไม่ กรณี ที่มีข้อหารือ มหาดไทย 2547 ใน 45 วัน แล้วมีคำสั่งให้ คืนคำขอ โจทก์ก็จะไม่ติดใจ
-----หรือ หากตรวจสอบแล้วฝ่ายกฏหมายพบว่า อาจทำได้ แต่ไม่แน่ใจ ต้องการส่งขอหารือไปที่คณะกรรมการโยธาจังหวัด และ กรมที่ดิน โดยต้องใช้เวลาเพิ่ม ก็สามารถทำได้ โดยทำจดหมายแจ้งมายังผู้ขอฯเพื่อขยายเวลาได้อีก 2 ครั้ง ซึ่งหากคณะกรรมการควบคุมอาคาร และ กรมที่ดิน ตอบมาว่า ไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดเจตนารมณ์ของ กม ก็ให้ส่งคืนคำขอในขั้นตอนนี้ เพื่อให้ ผู้ขอฯยื่นอุทธรณ์คำสั่ง และหากคณะกรรมการควบคุมอาคาร จังหวัด ยืนยันว่าการพิจารณาต้องตามข้อเท็จจริง การอุทธรณ์ตกไป ทางผู้ขออาจยื่นฟ้องศาลปกครองต่อไป แต่ในเมื่อ เมืองพัทยาสั่งให้ไปดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยที่ นายกเมืองพัทยา เป็นผู้อนุญาต และอยู่ในคณะกรรมการพิจารณา และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ผ่านความเห็นชอบ
ปัจจุบัน ปี 65 ยังไม่ได้รับใบอนุญาต อ.๑ โดยการอ้างว่า รอตอบขอหารือจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร จังหวัด และกรมที่ดิน จึงมิใช่เหตุอันควร
การกระทำที่ผ่านมานั้น จึงผิด คู่มือประชาชน และ ผิด พรบ อำนวยความสะดวก รวมทั้ง ผิด พรฎ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
การปฏิบัติขัดต่อคู่มือประชาชน ยังเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง ต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งๆที่ได้เข้าติดต่อสอบถามและแจ้งถึงความเสียหายมาโดยตลอดแล้ว
ซึ่งหากเมืองพัทยามีเจตนาบริสุทธิ์ เห็นว่า ไม่สามารถอนุญาตได้จริงแล้ว ทำไมถึงไม่ไประงับการก่อสร้าง และแจ้งความดำเนินคดี กับ Habitat ที่อยู่ตรงข้ามศาลาว่าการเมืองพัทยา และ มีป้ายโฆษณาเกินจริงนี้ เป็น Bill Board ขนาดใหญ่ ในหลายจุด ที่ได้โฆษณาเกินจริง ว่าเป็นโรงแรม จ่ายผลตอบแทน ซึ่งเมืองพัทยา เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้
(ผมได้ยื่นร้องศูนย์ดำรงธรรมให้เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว)
ค่าเสียหาย
(1) ค่าจัดทำรายงานผลกระทบ 850,000.-
(2) ค่าเช่า ปี 61 ถึง ปัจจุบัน เดือนละ 180,000 รวม 8,640,000
(3) ค่าดูแล ปี 61 ถึง ปัจจุบัน เดือนละ 200,000 รวม 9,600,000
รวม 19,090,000.-
(4) โจทก์อัญชลี เสียหายค่าเสื่อมราคาอาคาร 4 ปี ปีละ 2 ล้าน รวม 8 ล้าน
(5) ค่าขาดโอกาสจากการขาย ลูกค้านักลงทุนมาขอซื้อ 200 ล้าน