อ สุ สอนทำโคตรหมูกรอบแบบโรงงาน EP3 กรณีคริสปี้แฟคตอรี่

การผลิตหมูกรอบแบบโรงงาน สิ่งที่สำคัญคือมาตรฐาน ไม่ว่าจะขอ GMP HACCP  ISO หรือไม่ก็ตาม

มาตรฐาน หมายถึง การทำงานต่างวัน ต่างเวลากัน แต่ยังได้ผลออกมาเทียบเท่ากัน โรงงานหมูกรอบแต่ละแห่งจำเป็นต้องมีมาตรฐานแต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการเดียวกัน การสร้างกระบวนการนั้น ขึ้นอยู่กับสูตรอาหารของตน

ดังนั้น หมูกรอบไทยกับชาชูหรือขาหมูเยอรมัน จึงมีกระบวนการผลิตที่ต่างกัน แต่ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน คือ ต้องกรอบ และ อร่อย

เรื่องความอร่อย ความกรอบ จากสูตรที่ได้มา ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องมี จึงไม่ใช่ประเด็นหลัก 

ประเด็นหลัก คือ ยอดขายสูงสุด กำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด ตามหลักเศรษฐศาสตร์

โรงงาน คำนึงถึง ต้นทุนเป็นหลัก เพื่อให้ราคาต่ำกว่าคุ่แข่ง สามารถเข้าตลาดได้ง่าย เมื่อมียอดขายในระดับที่ได้ Economy of Scale การทำกำไรก็จะได้สูงสุด

การบีบต้นทุนให้ต่ำ จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพการผลิต โดยอาศัยเครื่องมือ เครื่องจักร หรือ เครื่องทุ่นแรง และ บุคลากร รวมทั้งอุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด ที่ต้องให้งานได้คุณภาพ

ต้นทุนหลักของหมูกรอบ คือ หมู3ชั้น ที่ราคาสูงสุดในบรรดาชิ้นส่วนต่างๆของหมู การซื้อจำนวนมาก สามารถลดต้นทุน COGS ได้ ต้นทุนค่าสูญเสีย หรือ น้ำหนักที่สูญหาย คือ ต้นทุนที่ต้องเพ่งเล็งเป็นพิเศษ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการที่เลือก 

อ สุ ได้สอน วิธีทำโคตรหมูกรอบแบบทำขาย ไว้ใน EP2 แล้ว ซึ่งมีขั้นตอนหลัก คือ ต้ม ตากแดด อบ ทอด1 ทอด2 ซึ่งจะเหมาะกับการทำขายแบบร้อนๆ ทิ้งไว้ไม่นาน ก็จะเริ่มหายกรอบ ซึ่งถ้าต้องการให้กรอบนาน จำเป็นต้องเพิ่มขั้นตอนซึ่งทำให้ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป จึงแนะนำให้หาทานตามร้านที่มีโลโก้ ครัวรักษ์.ตะวัน ติดอยู่

Visitors: 175,631