10. ช่วยซ่อมเซลล์ เพราะ อมิโนโปรตีน

ว่านหางจระเข้เพื่อประโยชน์ในการสมานแผล

สมุนไพรเพื่อการสมานแผลกล่าวได้ว่าใช้กัน กว้างขวางในการแพทย์แผนโบราณของหลายๆ ประเทศ เป็นพืชตระกูล aloe บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำงานวิจัยจากฐานข้อมูลทางการแพทย์มาลำดับให้เห็น พัฒนาการของการใช้ว่านหางจระเข้เพื่อการสมานแผลอย่าง เป็นขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษาในสัตว์ทดลอง การใช้ในผู้ป่วย กลไกระดับโมเลกุล ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการ พัฒนาตำรับเภสัชภัณฑ์แผนใหม่เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้ อย่างปลอดภัยและมีมาตรฐานทางยาเป็นที่เชื่อถือได้ดังเช่น ยาแผนปัจจุบัน

กลไกการทำงานของว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์สมานแผลที่ ชัดเจนมาตั้งแต่โบราณ งานวิจัยทางการแพทย์ต่อมาได้ ยืนยันว่าน่าจะมาจากความสามารถในการต้านเชื้อรา ต้าน แบคทีเรีย ต้านอักเสบ ปรับระบบภูมิคุ้มกัน ที่ผ่านกลไกของ สารในกลุ่ม cytokine, growth factor และ angiogenic factor42 Fulton รายงานไว้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 ว่า ว่านหางจระเข้ช่วยลดการบวมของบาดแผล เกิดภาวะ หลอดเลือดหดตัวได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง ในวันที่ 3-4 มีสารคัดหลั่งออกมาน้อย และวันที่ 5-6 เกิดกระบวนการ re-epithelialization การเร่งการสมานแผลเป็นผลดี คือช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และการเกิดแผลเป็น (keloid formation) รวมทั้งรอยด่างบริเวณแผลจากการ เปลี่ยนแปลง pigment43 กลไกการทำงานในระดับเซลล์ ของสารจากว่านหางจระเข้เพื่อการรักษาแผลให้หายเร็วใน ระยะต่างๆ ของการเกิดบาดแผล

Visitors: 176,777