กำยาน สัญญลักษณ์ของความศรัทธา
ด้วยความเชื่อที่ว่า "มวลสารจากวัดในไทย ศักดิ์สิทธิ์ สามารถนำไปวางในแท่นบูชาที่บ้านได้
การอยู่ในห้องที่มีมุ้งลวดกันยุง สามารถป้องกันได้ทั้งแมลงต่างๆและยุง แต่ในชนบทห่างไกลไม่มีไฟฟ้า หรือ กลางแจ้งในสวนอาหาร ในตลาด ในเมือง ยามค่ำคืน ก็จำเป็นจะต้องใช้ทุกวัน ซึ่งหากถูกยุงลายกัด ก็อาจนำไข้เลือดออกมาแถมให้ได้
ในที่โล่งแจ้งนั้นต้องคำนึงถึงความประหยัด และ ความปลอดภัย กำยานที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง จึงตอบโจทย์ทั้งทางด้านความปลอดภัยและประหยัดกว่า
กำยาน วิวัฒนาการด้านการป้องกันแมลงมารังควาน มาแต่โบร่ำโบราณ อยู่คู่สังคมชนบทไทยมาเนิ่นนาน
วิธีการเลือกไม้เพื่อทำกำยาน คือ
1. ส่วนของเชื้อไฟ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักกว่า 50 % คือ ผงไม้หรือขี้เลื่อย ซึ่งต้องเป็นสื่อไฟ
2. ส่วนที่ให้กลิ่นหอม ต้องเป็นไม้น้ำมันที่มีกลิ่นหอม
3. ส่วนที่ให้ความเหนียวเพื่อปั้นขึ้นรูป
เอกลักษณ์เฉพาะของ Legend Siam คือ ไม้เกี๊ยะจากเชียงราย ซึ่งเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมของไม้สน และ มีน้ำมันในปริมาณที่มาก มาผสมกับน้ำมันหอมระเหย เช่น ลาเวนเดอร์ หรือ ตะไคร้หอม ซึ่งคนที่อยู่ใกล้จะรู้สึกได้ถึงกลิ่นอโรม่าที่อยู่ในน้ำมัน โดยที่ไม่มียุงหรือแมลงมารบกวน และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ มวลสารจากวัด...... ที่พระอาจารย์ได้ปลุกเสกไว้เพื่อให้เป็นสิริมงคลกับสานุศิษย์
เคล็ดลับการทำกำยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก สูตร อ.สุ
1. นำผงกำยานมาผสมกับขี้เลื่อยผงสัก ผงโกบั๊วแดงหรือยางบง(ขึ้นรูป) จันขาวหรือจันเทศพม่า(กลิ่นหอม) สนเกี๊ยะ(เชื้อเพลิง) และ น้ำมันหอมระเหย เช่น ตะไคร้หอม นำมาคลุกรวมกันแล้วผสมน้ำอบพอหมาดให้เหนียวพอปั้นได้
2. ปั้นเป็นทรวงกรวย ใส่ลงพิมพ์ แล้วกดให้แน่น เจาะรูเพื่อเสียบลงในแกนโลหะ
3. อบแห้งด้วยเตาอบไร้ควันหรือตากแห้งด้วยแสงแดด จนความชื้นต่ำพอ
4. พ่นน้ำมันหอมระเหตด้านนอกเพื่อให้หอมเพิ่มขึ้น ห่อด้วยถุงพลาสติกใสหรือกระดาษสาเพื่อป้องกันความชื้น และ ไม่ให้กลิ่นระเหยเร็วจนเกินไป แล้วจึงบรรจุลงภาชนะอีกชั้น
หมายเหตุ : ปักธูปหอมเข้าไปรอบๆกำยาน เพื่อจุดไฟ
สูตร อ.สุ จะไม่มีการแต่งสี เพราะ สิ้นเปลืองและอาจเป็นพิษในขณะเผาไหม้
สำหรับผู้ที่ต้องการปลูก ราคาต้นพันธุ์กำยานสุมาตรา 900 กำยานโอมาน 1800 สูง 1.0 ม. ลำต้นอ้วน 1 ซม
กำยาน ชื่อสามัญ Siam Benzoin (กำยานญวน), Sumatra Benzoin (กำยานสุมาตรา)
กำยาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Styrax tonkinensis Craib ex Hartwich (กำยานญวน), Styrax benzoin Dryand., Styrax paralleloneurus Perkins (กำยานสุมาตรา) จัดอยู่ในวงศ์ STYRACACEAE[1] สมุนไพรกำยาน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เกลือตานตุ่น (ศรีสะเกษ), ชาติสมิง ซาดสมิง (นครพนม), กำหยาน (ภาคเหนือ), กำยานไทย กำยานต้น (ภาคกลาง), กำมะแย กำยานสุมาตรา (นราธิวาส, มาเลเซีย), สะดาน (เขมร-สุรินทร์), เบนซอย (นอกประเทศ), เซ่พอบอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), เข้ว (ละว้า-เชียงใหม่), อานซีเซียง (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของต้นกำยาน ต้นกำยาน จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเทาหรือสีหม่น ตามกิ่งก้านมีขนสีเหลืองเล็กน้อย[1] มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเขตร้อน เช่น แหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอนิโอ และในประเทศไทย
ใบกำยาน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาวเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบมีขนสีขาวเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร
ดอกกำยาน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเป็นสีชมพู-แดง หรือสีขาว มีกลีบ 5 กลีบ ด้านในของดอกจะเป็นสีชมพูถึงสีแดงเข้ม ด้านนอกเป็นสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน และดอกมีขน
ผลกำยาน ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลมเล็กน้อย ผิวแข็งมีสีน้ำตาล ยาวประมาณ 10-12 มิลลิเมตร มีขนขึ้นประปราย ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด[1],[2] ชนิดของกำยาน กำยาน คือ ยางหรือชันน้ำมัน (Oleoresin) ที่ได้จากพืชในสกุล Styrax หลายชนิด คำว่า “กํายาน” มาจากภาษามลายูว่า “Kamyan” อ่านว่า “กำ-มิ-ยาน” โดยกำยานที่มีขายในท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กำยานญวน หรือ กำยานหลวงพระบาง (Siam Benzoin) เป็นกำยานที่ได้จากพืชชนิด Styrax tonkinensis Craib ex Hartwich ซึ่งคล้ายคลึงกับพืชชนิดทั้งสองชนิดแรก ลักษณะเป็นเม็ดกลมรีขนาดเล็ก ส่วนมากมีความยาวน้อยกว่า 2-3 เซนติเมตร ทึบแสง เปราะ ชั้นในมีสีน้ำนมขาวขนาดเล็ก แต่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงปนน้ำตาล ใส หรือทึบแสง กำยานชนิดนี้เป็นกำยานชนิดที่ดีที่สุด เพราะกำยานชนิดนี้ส่งออกขายจากเมืองของราชอาณาจักรสยาม ในทางการค้ากำยานชนิดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเป็นเม็ดกลมรี เม็ดไม่ติดกัน (Tear Siam Benzoin) และชนิดที่เป็นเม็ด ๆ ติดกันเป็นก้อน มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมตามลักษณะของหีบไม้ที่บรรจุ (Block Siam Benzoin) แต่ชนิดที่ดีที่สุดคือ ชนิดที่เป็นเม็ดกลมรี เกาะติดกันหลวม ๆ ไม่แน่น ถ้าเป็นชนิดธรรมดาจะเป็นเม็ดกลมรี ติดกันแน่น กำยานชนิดนี้นิยมใช้เป็นสารให้คงกลิ่น (fixative) ในน้ำหอม สบู่ ครีม สารซักฟอก เป็นต้น
กำยานสุมาตรา (Sumatra Benzoin) เป็นกำยานที่ได้จากพืช 2 ชนิด คือ Styrax benzoin Dryand. และ Styrax paralleloneurus Perkins กำยานชนิดนี้จะมีลักษณะแตกต่างจากกำยานญวนตรงที่มีสีเทามากกว่า ไม่ค่อยมีส่วนที่เป็นก้อนกลม ๆ รี ๆ มักมีเศษไม้และของอื่น ๆ ปนอยู่ และมีความหอมน้อยกว่ากำยานญวน แต่จะนิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางยามากกว่า โดยใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ และเป็นยาฝาดสมาน
ส่วนวิธีการเก็บยางนั้นจะทำได้โดยการใช้มีดหรือของมีคมสับฟันไปตรงลำต้นหรือเปลือกเพื่อให้ยางออกมา แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 60 วัน เพื่อให้ยางแห้งแข็ง แล้วจึงค่อยแกะออกจากลำต้น ซึ่งเรียกว่า “Tear” โดยยางของกำยานที่นำมาใช้ทำยานั้นให้เลือกเอาแต่ต้นที่มีอายุประมาณ 3-6 ปี เพราะในช่วงนี้ยางที่ออกมาจะมีสีขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอม ซึ่งจัดว่าเป็นยางชั้นหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “Head benzoin” ส่วนต้นที่มีอายุประมาณ 7-9 ปี ยางที่ออกมาจะเป็นสีน้ำตาล เรียกว่า “Belly benzoin” และสำหรับต้นที่มีอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป ยางที่ได้นั้นจะเป็นสีน้ำตาลดำ เรียกว่า “Foot benzoin” ซึ่งเป็นยางที่สกปรก
กำยาน ศาสตร์แห่งการสร้างความหอมอมตะ
กำยานมีกลิ่นหอมอบอุ่น หอมสะอาด เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ยังไม่ได้ผสมเจือจางแต่สามารถนำไปใช้งานได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้นวดตัวในสปา หรือผสมลงในเตาหอมระเหย ใช้ผสมในเทียนหอม หรือสบู่ โลชั่น น้ำยาซักผ้า ฯลฯ หรือนำมาหยดใส่ในตะเกียงน้ำมันหอมก็ได้ นอกจากนี้หากหยดลงน้ำก็ใช้ทำ Facial Steaming ได้ หรือจะนำน้ำมันหอมระเหยกลิ่นกำยานมาเจือจางก็จะสามารถนำมาใช้เป็นสเปรย์ฉีดพ่นห้อง เพื่อให้ได้กลิ่นตามต้องการและพร้อมใช้งานได้ทันที
ด้วยความหอมของกลิ่นกำยานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเป็นการผสมผสานกับศาสตร์แห่งสปาอย่างลงตัว การใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกำยานในร้านสปานั้น ได้ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางเป็นการใช้สำหรับบำรุงผิว ซึ่งใช้ได้สำหรับผิวที่เสื่อมสภาพและแห้ง น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกำยานยังมีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบและเสริมสร้างเซลล์ผิว ทำให้ช่วยควบคุมความมันบนผิวโดยใช้ได้กับผู้มีผิวมัน ช่วยลดเลือนริ้วรอยและบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด ช่วยให้หายใจสะดวก ซึ่งกลิ่นกำยานหอม ๆ ยังช่วยลดอาการแน่นหน้าอกและไซนัส และช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ เจ็บคอ โรคเกี่ยวกับหลอดลม ไข้หวัด และช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี
กำยานที่ใช้ปรุงน้ำอบไทย โดยการเผากำยานบนก้อนถ่าน แล้วใช้อบ เช่นอบน้ำดอกไม้หรือน้ำที่อบกำยานแล้ว คนโบราณเอามาปรุงกับเครื่องหอมอื่น ๆ ทำเป็นน้ำอบไทย กำยานยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ และธูปหอม กระแจะ เป็นการใช้เผารมเพื่อให้มีกลิ่นหอมและใช้ไล่ริ้น ไร มดแมลง และเพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้อง และใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อสำหรับตกแต่งกลิ่นหรือกันบูด ประเทศฝรั่งเศสได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม
กำยานที่มาจากโอมานเป็นกำยานที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก ซึ่งกำยานเป็นไม้ที่ขึ้นตามทะเลทราย เพราะเปลือกที่มีความมันและมียางเคลือบซึ่งยางมีคุณสมบัติที่มีกลิ่นหอม เป็นความหอมที่รุนแรงและหอมทนนาน กำยานจากประเทศโอมานจะมีความหอมสุดๆ กลิ่นดีมาก ช่วยในเรื่องการฟอกอากาศ กำจัดกลิ่นและช่วยระบบทางเดินหายใจ คลายเครียด ฯลฯ กลิ่นมีความคงทนและควันกำยานสามารถแทรกซอนได้ทั่ว แต่กำยานเทียมที่เห็นขายกันตามห้าง ไม่ควรใช้เนื่องจากอาจมีพวกสารตะกั่ว หรือสารเคมีตัวอื่นผสม ซึ่งกำยานโอมานนี้กลิ่นหอมเย็นใจและไม่ฉุน กลิ่นไม่แรงมากไม่มีกลิ่นอายอินเดีย ต้องใช้เทคนิคคือต้องเผาให้ถ่านแดงๆ แล้ววางกำยานลงบนถ่านจะหอมมาก การใช้กำยานแท้เพื่อจุดในลักษณะนี้เป็นการอนุรักษ์แบบย้อนคืนธรรมชาติที่ปลอดภัยกว่า
"ควันธูป" อันตราย จริงไหม? โค้ชเภสัชพี่โหน่งมีคำตอบ #ควัน#ควันธูป#ธูปไฟฟ้า #กระทรวงสาธารณสุข #มะเร็ง#มะเร็งปอด #รักสุขภาพ#fitcoachthailand #tiktokuni ♬ เสียงต้นฉบับ - เภสัชพี่โหน่ง