ออฟฟิศซินโดรมหายขาดได้โดยไม่ต้องพึ่งยาหาหมอ

"ที่ไม่หายเพราะปลายเหตุ" ปู่ยิ้ม แกรนด์สมาย เล่าเรื่อง ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) โรคที่คุณอยากหาย ปู่หาข้อมูลการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดนี้ และเห็นบทความจากเว็บของโรงพยาบาลหนึ่งในกรุงเทพฯพบว่า ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการดูแลสุขภาพของตนเองจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้อาการของออฟฟิศซินโดรม 1.ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีน้อยไปหามากซึ่งมักจะทำให้เกิดความรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน 2.อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป 

การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม ประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม 1.การปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 2.ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที 3.ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน 4.  เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนักการยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน 

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ปัจจุบันการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมมีอย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะทำการรักษาเพื่อลดอาการปวดอักเสบ หรือลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ เนื่องจากมักพบผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาเป็นระยะปวดเรื้อรัง ดังนั้นการวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีในการรักษาคือ 1.การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation(PMS) 2.การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อมีการซ่อมแซมในบริเวณที่มีการบาดเจ็บ Shock Wave Therapy ทั้งชนิด Focus และ Radial 3.การรักษาเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการใช้ High Laser Therapy 4.การยืดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด ซึ่งมีประโยชน์ทั้งการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้ 5.การฝังเข็มโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู 6.การรับประทานยา 

ปู่ยิ้มว่า หากรักษาตามแผนการรักษาเหล่านี้ จะเป็นแค่การบรรเทาอาการปวดเพียงชั่วคราว เพราะเป็นการระงับยับยั้งที่ปลายเหตุเท่านั้น ซักพักก็กลับมาเป็นใหม่และอาจมีผลข้างเคียงจากการทานยา ปู่คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านอ็อกซิเจนเพื่อสุขภาพระดับเซลล์ ลองมาพิจารณากันนะว่า น่าจะหายขาดมั้ย ถ้าสาเหตุทั้งหมดเกิดจากการทำงาน นั่งนานๆ ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ พนักงานคอมพิวเตอร์ทั้งโลก คนงานในโรงงานที่นั่งหน้าสายพานลำเลียง คนที่นั่งดูทีวีทั้งวัน จะต้องเป็นเหมือนกันทุกคนไม่ใช่เป็นเฉพาะบางคน ขึ้นกับว่าจะเป็นช้าหรือเร็ว เป็นนานแค่ไหน  ซึ่งต้นเหตุที่อ้างมานี้น่าจะลวงโลกจากการวิจัยของโรงงานเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศและโรงงานผลิตยาที่ต้องการให้โรงพยาบาลเราซื้อเครื่องและยาจากเขา แต่กลับรักษาไม่หายขาด หรือ เลี้ยงไข้ รึป่าว สมการรักษาโรคนี้คือ “Use of O2 = Source of O2 (การจ่ายอ็อกซิเจนเพื่อให้เซลล์ในร่างกายนำไปใช้ ต้องไม่มากไปกว่าการรับอ็อกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย)ผู้เชี่ยวชาญด้านอ็อกซิเจนยังกล่าวอีกว่า พลังงานในร่างกายที่ผลิตได้ทั้งหมดถูกนำไปใช้กับสมองมากที่สุดถึง 80% ซึ่งพลังงานเกิดจากอ็อกซิเจนผสมกับน้ำตาล หากเราใช้อ็อกซิเจนมากจากการใช้สมองก็จำเป็นที่จะต้องได้รับมากเช่นกัน เมื่อขาดอ็อกซิเจน “กรดแลคติก” หรือ กรดแห่งความเมื่อยล้าจะเข้าแทนที่อ็อกซิเจนที่ถูกสันดาบไป จริงอยู่ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่เกิดจากการนั่งที่เดิมนานๆ ใช้สมองทำงานมากๆโดยเฉพาะการทำงานที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ การเล่นเกมส์ ทำให้ต้องใช้อ็อกซิเจนจำนวนมหาศาลแต่หากเราเติมอ็อกซิเจนที่ดีให้ร่างกายได้เพียงพอก็จะไม่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเหล่านี้ การขาดอ็อกซิเจนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานในสำนักงานอาคารที่ไม่เติม Fresh Air ให้เพียงพอ การนอนหลับไม่สนิทหรือหลับไม่เพียงพอ การอยู่ท่ามกลางมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ “เพราะการนอนเป็นการเติมอ็อกซิเจนที่ดีที่สุด การนั่งสมาธิก็เป็นการเติมอ็อกซิเจนวิธีหนึ่งที่ดี” คำแนะนำให้ดูแลตัวเองให้หายจากโรคนี้โดยไม่ต้องทานยาหรือหาหมอ 1.นอนให้พอ หลับให้สนิท 2.นอนและทำงานในที่ๆมีอากาศถ่ายเท 3.อย่าทำลายพลังงานหรืออ็อกซิเจนอย่างสูญเปล่าจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ 4.ความเครียด จะใช้สมองเยอะ ทำให้สิ้นเปลืองอ็อกซิเจน 5.อย่าการออกกำลังกายหักโหม เช่น การวิ่งมาราธอน เทนนิส แบตมินตั้น จะทำให้เกิดการเผาผลาญอ็อกซิเจนจำนวนมาก อย่างรวดเร็ว แต่ให้ออกกำลังกายแบบไม่หักโหมแทน 5 ข้อนี้ จะทำให้อาการปวด หรือ โรคออฟฟิศซินโดรมหายขาดได้โดยไม่ต้องหาหมอ และไม่ต้องพึ่งยาแต่ในช่วงแรกของการแก้โรคอาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อให้ร่างกายปรับเข้าสู่ภาวะปกติดังเดิมก่อน ปู่ยิ้มจึงอยากแนะนำ การนวดบำบัดแก้อาการจากแพทย์แผนไทยที่ชำนาญด้านการจับจุด รีดเส้น คลายกล้ามเนื้อ กับ ซาวน่าอิออนโอโซน ที่เพิ่มอ็อกซิเจนให้กับร่างกายในห้องอาบป่า ซึ่งเป็นทั้งการออกกำลังกายแบบไม่หักโหม ลดความเครียด อากาศดี มีอ็อกซิเจนประจุลบมากมาย

ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญด้านอิออนโอโซนจาก บริษัท โอแซดวัน เป็นอย่างสูงครับ 

Visitors: 178,628