โอโซนสระว่ายนำ้
การใช้โอโซนในสระว่ายน้ำ
ก๊าซโอโซนถูกนำมาใช้ในการบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำมาเป็นเวลานานมากแล้วและอัตราการใช้โอโซนในสระว่ายน้ำก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับเนื่องจากข้อดีหลายๆอย่างของโอโซน ซึ่งเป็นก๊าซธรรมชาติไม่เป็นพิษต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมจะเห็นได้จากในทวีปยุโรปมีการใช้โอโซนบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำแล้วถึงกว่า 300,000 สระ สำหรับในประเทศไทยก็มีการใช้โอโซนในการบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำกันมากขึ้นมาโดยตลอด
คุณสมบัติเด่นของโอโซน มีดังต่อไปนี้
- เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร จะสลายตัวกลับเป็นออกซิเจนหรือทำปฏิกิริยากับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา
- เป็นก๊าซที่มีพลังงานในการออกซิเดชั่น(Oxidation Potential) สูงกว่าคลอรีน
- มีฤทธิ์ในการค่าเชื้อโรคได้เร็วกว่าคลอรีน 3,125 เท่า
- สามารถฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัส Enterovirus(โรคมือเท้าปาก)
- ช่วยให้สารโลหะตกตะกอนได้เร็วขึ้น
- ย่อยสลายทำให้สารอินทรีย์เคมีและสารประกอบของโลหะหนักแตกตัว
- ทำให้ความขุ่นที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำรวมตัวกันและตกตะกอน
- กำจัดกลิ่น และสี
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและตะไคร่น้ำ
- กำจัดอนินทรีย์สารพวก ซัลไฟท์ และไนไตรท์
- สามารถกำจัดอินทรีย์สารต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
- ไม่ทำให้เกิด Trihalomethane ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
จากคุณสมบัติของก๊าซโอโซนที่กล่าวมานี้ ทำให้น้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยโอโซนจะมีคุณภาพสูงกว่าการใช้ระบบฆ่าเชื้อโรคแบบอื่น ดังนี้
- น้ำที่ผ่านโอโซนฆ่าเชื้อจะมีออกซิเจนละลายอยู่สูงกว่า เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
- น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยโอโซนจะไม่มีเชื้อโรค เพราะถึงแม้ว่าภาชนะบรรจุหรือรองรับจะไม่สะอาดมีเชื้อโรคปนเปื้อนมาก็ตาม เมื่อบรรจุน้ำโอโซนเข้าไปเชื้อโรคจะถูกโอโซนฆ่าตายหมดจึงปลอดภัย
ข้อสังเกต การใช้แสงยูวีจะฆ่าเชื้อโรคเฉพาะน้ำที่ผ่านก่อนการบรรจุเท่านั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับภาชนะบรรจุหรือรองรับได้ และยังไม่สามารถเพิ่มออกซิเจนได้
ข้อเปรียบเทียบการใช้โอโซนกับระบบอื่นๆ
หัวข้อ | โอโซน | คลอรีน | เกลือร่วมกับไฟฟ้า | หลอดยูวี |
การฆ่าเชื้อโรคในน้ำ | ||||
– เชื้อโรค | ได้ | ได้ | ได้ | ได้ |
– เชื้อไวรัส, แบคทีเรีย | ได้ | ได้ไม่ดี | ได้ไม่ดี | ได้ไม่ดี |
การกำจัดสารเคมี | ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ |
การกำจัดสี, กลิ่น | ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ |
การกำจัดโลหะหนัก | ได้ | ไม่ได้ | ได้ | ไม่ได้ |
การกำจัดความขุ่น | ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ |
การฆ่าเชื้อภาชนะบรรจุ | ได้ | ได้ | ได้ | ไม่ได้ |
สารเคมีตกค้างหรือสารก่อมะเร็ง(THMs) | ไม่มี | มีโอกาสสูง | มีโอกาสสูง | ไม่มี |
ระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ | รวดเร็ว | ใช้เวลานาน | ใช้เวลานาน | ใช้เวลานาน |
การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ | ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ |
อายุการใช้งาน | ยาวนาน | มีค่าใช้จ่ายตลอด | มีค่าใช้จ่ายตลอด | ตามอายุของหลอด |
ประสิทธิภาพการใช้ | ดีต่อเนื่อง | ขึ้นลงตามการผสม | ลดลงตามสภาพ | ลดลงตามสภาพ |
การซ่อมบำรุง | สะดวก | เปลี่ยนชุดผสมน้ำ | ต้องเปลี่ยนใหม่ | ต้องเปลี่ยนใหม่ |
ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน | ต่ำ | สูง | สูง | สูง |
ค่าเครื่อง | แพง | ถูก | ปานกลาง | ถูก |
ข้อดีของการใช้โอโซนในสระว่ายน้ำ
- โอโซนไม่ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา หรือทำให้ตาแดง แม้จะมีความเข้มข้นของโอโซนในน้ำสูงก็ตาม
- โอโซนสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ(เร็วกว่าคลอรีน 3,125 เท่า)
- โอโซนสามารถสลายพิษจากปฏิกิริยา(by-products)ของ คลอรีนได้แก่ Chloramine ซึ่งมีกลิ่นไม่ค่อยดีและทำให้ระคายเคืองต่อส่วนต่างๆของร่างกาย , Chloro-organic compounds หรือ Trihalomethanes(THMs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) ได้
- โอโซนสามรถอ๊อกซิไดส์สารอินทรีย์ เช่น เสมหะ ปัสสาวะ ขี้ไคล และสารอนินทรีย์ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เหล็ก แมงกานีส ซึ่งพบได้โดยทั่วไปในสระว่ายน้ำให้ตกตะกอน ทำให้น้ำดูใสขึ้นเมื่อผ่านระบบกรองและช่วยปรับสมดุล กรด-เบส ได้อีกทางหนึ่ง
- เมื่อเติมโอโซนลงในน้ำจะไม่ทำให้ความเป็นกรด-เบสของน้ำเปลี่ยนแปลงซึ่งต่างจากการใช้คลอรีนที่จะลดค่า PH ทำให้ต้องเติมน้ำยาช่วยเพิ่มค่า PH อยู่เรื่อยๆเพราะฉะนั้นการใช้โอโซนจึงช่วยประหยัดน้ำยาปรับความเป็น กรด-เบส ของน้ำ
- ก๊าซโอโซนผลิตได้จากก๊าซออกซิเจนซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามอากาศจึงไม่ต้องจัดหาสารเคมีมาเติมทำให้สะดวก ประหยัดในการใช้งานเป็นอย่างมาก
- ยืดเวลาในการล้างไส้กรอง เพราะโอโซนจะไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างในน้ำ เมื่อโอโซนทำปฏิกิริยา ผนังเซลล์ของเชื้อโรคและสิ่งต่างๆในน้ำแล้วก็จะสลายตัวเป็นออกซิเจน จึงช่วยลดภาระการทำงานของระบบกรองลงได้
มาตรฐานในการบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำโดยทั่วไป
Minimum | Ideal | Maximum | |
PH | 7.2 | 7.5 | 7.8 |
Free chlorine (ppm) | 1.0 | 2.0 | 3.0 |
Bromine (ppm) | 2.0 | 3.0 | 4.0 |
Ozone (ppm) | 0.001 | – | 1.0 |
เนื่องจากปฏิกิริยาที่ได้จากโอโซนสามรถฆ่าเชื้อโรคและออกซิไดส์สารต่างๆได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าเราจึงใช้โอโซนในปริมาณที่น้อยกว่าสารเคมีชนิดอื่นมาก
การใช้โอโซนในสระว่ายน้ำร่วมกับการใช้คลอรีน
- ลดปริมาณการใช้คลอรีนลงได้ประมาณ 70 – 90 %
- ขจัดปัญหาการระคายเคือง,แสบตาและตาแดง จากคลอรีน
- โอโซนสามารถสลายพิษจากปฏิกิริยา(by-products)ของ คลอรีนได้แก่ Chloramine ซึ่งมีกลิ่นไม่ค่อยดีและทำให้ระคายเคืองต่อส่วนต่างๆของร่างกาย , Chloro-organic compounds หรือ Trihalomethanes(THMs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) ได้ทำให้น้ำในสระว่ายน้ำปลอดภัยต่อผู้ลงเล่นน้ำมากที่สุด
ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการปรับค่า PH ของน้ำลงเนื่องจากใช้คลอรีนเติมลงในสระว่ายน้ำเพียงเล็กน้อยทำให้ PH ของน้ำลดลงจากการใช้คลอรีนเพียงเล็กน้อยเช่นกัน